ภาวะดื้ออินซูลิน คืออะไร
ภาวะดื้ออินซูลิน คือ การที่มีอินซูลินท่วมท้นอยู่ในกระแสเลือดตลอดเวลา แต่ขาดประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของโรคเบาหวาน บางคนมีภาวะดื้ออินซูลินแต่ยังไม่เกิดเบาหวาน เพราะตับอ่อนหลั่งอินซูลินออกมามากขึ้น สำหรับผู้ที่มีภาวะดื้ออินซูลินแล้ว แต่ยังไม่เกิดเบาหวาน เป็นในกรณีของคนอ้วนทั่วไปที่มาตรวจเลือด แต่ยังไม่พบว่าเป็นเบาหวาน
เนื่องจากภาวะนี้ตับอ่อนต้องทำงานหนักเพื่อหลั่งอินซูลินเพิ่มขึ้นให้เพียงพอ แต่ในระยะยาวถ้าติดตามอาการอย่างต่อเนื่องจะพบว่า การหลั่งอินซูลินจะค่อยๆ ลดลงและไม่เพียงพอ ทำให้ระดับนํ้าตาลในเลือดสูงขึ้น และเกิดโรคเบาหวานในที่สุด ดังนั้นคนที่อ้วนแต่ยังไม่เป็นเบาหวาน อาจเป็นเพราะยังเป็นไม่นานมากพอที่จะทำให้ตับอ่อนเสื่อม
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน จะเกิดโรคเบาหวานหรือไม่ก็ได้ ไม่ใช่พบว่าอยู่ในภาวะดื้ออินซูลินแล้วต้องเป็นเบาหวานในทันที ขึ้นอยู่กับระยะของความผิดปกติ แต่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะมีภาวะดื้อต่ออินซูลินร่วมด้วยเสมอ เพราะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักมากขึ้น แต่ในคนที่ยังไม่เป็นเบาหวาน อาจกล่าวไดว่า ภาวะดื้ออินซูลินเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่อาจทำให้เกิดโรคเบาหวานในอนาคต
สาเหตุและวิธีแก้ภาวะดื้ออินซูลิน
ต้องบอกก่อนว่าอาการแสดงของความผิดปกติของการออกฤทธิ์อินซูลิน บางคนมีจุดสังเกตคือบริเวณรอบคอ รักแร้ หรือ บริเวณด้านหลังของคอ มีผิวหนังดำคล้ำขึ้น คล้ายขี้ไคลแต่ขัดไม่ออก ซึ่งนอกจากนี้ยังมีสัญญาณเตือนอื่นๆ ที่บ่งบอกว่าร่างกายของคุณกำลังอยู่ในภาวะดื้ออินซูลิน
- รู้สึกง่วงหลังจากมื้ออาหาร อ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรง
- การตั้งครรภ์ มีการสร้างฮอร์โมนจากรกที่มีฤทธิ์ต้านอินซูลิน
- มีอาการหิวบ่อย รู้สึกหิวตลอดเวลา กินเยอะขึ้นแต่ไม่รู้สึกว่าอิ่ม
- น้ำหนักเกิน เกิดจากเซลล์ ไขมันสร้างสารบางอย่างที่ต้านฤทธิ์อินซูลิน นอกจากนี้เซลล์ ไขมันในคนอ้วนสร้างโปรตีนแอดดีโพเน็กทินลดลง โปรตีนนี้ถ้ามีน้อยจะทำให้ดื้อต่ออินซูลิน
- การใช้เสตอรอยด์ หรือ การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิดบางชนิด ยารักษาโรคเอดส์บางชนิด
- การมีภาวะเครียด ภาวะติดเชื้อรุนแรง มีไข้สูง หรือมีโรคร้ายแรงเฉียบพลันต่าง ๆ การผ่าตัดหรือได้รับอุบัติเหต
- ขาดการออกกำลังกาย
- ปัญหาการนอนหลับ โดยเฉพาะภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
ซึ่งการแก้ไขและการดูแลรักษาอาการดื้อภาวะอินซูลิน แบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คือ 1. สำหรับผู้ที่ยังไม่เป็นเบาหวาน และ 2. สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน
-
ผู้ที่ยังไม่เป็นเบาหวาน
ส่วนใหญ่ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือ อ้วน จะมีภาวะนี้ทุกคน จึงต้องแก้ไขสาเหตุต่างๆ ที่สามารถรักษาได้ คือลดน้ำหนักตัวลงมาให้อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงกับคนปกติให้มากที่สุดโดยการคุมอาหาร เลือกรับประทานอาหารที่มีแคลต่ำ เลือกกินโลว์ คาร์บ เพื่อจำกัดปริมาณของคาร์โบไฮเดรตที่ทานในแต่ละวันหลีกเลี่ยงไขมันสูงทุกชนิด และที่สำคัญให้ออกกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ
-
ผู้ที่เป็นเบาหวาน
หากอยู่ในระหว่างรักษาด้วยยาเม็ดหรือยาฉีด และมีการควบคุมน้ำหนักตัวร่วมด้วย จะทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น บางรายถ้าระดับน้ำตาลไม่สูงมาก การออกกำลังกายและการควบคุมอาหาร ข่วยชะลอการใช้หรือฉีดยาไประยะหนึ่งได้ หากเป็นผู้ที่จำเป็นต้องกินยา ควรเลือกยาเม็ดชนิดที่สามารถลดภาวะดื้ออินซูลินได้เป็นอันดับแรก เพราะถ้าภาวะดื้อต่ออินซูลินลดลง อินซูลินที่ร่างกายมีอยู่หรือได้รับการฉีดเข้าไปจะออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น ทำให้ระดับนํ้าตาลในเลือดควบคุมได้ดีขึ้น
หลังจากผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกิน เช่น ทิ้งช่วงมื้ออาหารแบบมีจังหวะ, ไม่กินจุกจิก, ลดแป้งลดไขมัน ประมาณ 2 สัปดาห์ โดยเฉลี่ย ร่างกายจะค่อยๆ ปรับตัวได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานร่างกายของแต่ละคน หากพื้นฐานดี เช่น ไม่กินจุกจิกตลอดเวลา ไม่ชอบกินอะไรหวานๆ หรือ แป้ง เวลาที่ใช้จะไม่นานมาก ซึ่งสัญญาณที่บ่งบอกว่าร่างกายของคุณกำลังดีขึ้นจากภาวะดื้ออินซูลิน คือ ร่างกายจะไม่รู้สึกหิวพร่ำเพรื่อ รู้สึกอยู่ท้อง ไม่ทรมานในระหว่างมื้ออาหาร เป็นต้น
อ้างอิง :