โรคเบาหวาน ภัยอันตรายใกล้ตัวที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศและทุกวัยที่ถูกละเลยมากที่สุด ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการ ไม่สามารถขาด แนวทางการรักษาเบาหวาน ก็คือการใช้ ยารักษาโรคเบาหวาน เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ แล้วสาเหตุของการเกิดโรคดังกล่าวมีหลายปัจจัย ทว่าหลายคนมักจะตีความหมายไปว่า “เบาหวาน” เกิดจากการทานของหวานมากจนเกินไป ทั้งที่ในความเป็นจริงไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงทั้งหมด ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย ซึ่งบุคคลที่สนใจ สามารถอ่านรายละเอียดได้ ที่นี่ เลย
ยารักษาโรคเบาหวาน คืออะไร
ก่อนที่จะทำความรู้จักกับ ยารักษาโรคเบาหวาน ทุกคนจำเป็นต้องรู้ก่อนว่า โรคเบาหวาน หรือ Diabetes เป็นภาวะฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “อินซูลิน (Insulin)” ภายในร่างกายเกิดการทำงานผิดปกติ โดยที่ปกติแล้วอินซูลินจะทำหน้าที่นำน้ำตาลที่อยู่ภายในกระแสเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
เมื่อระบบการทำงานของอินซูลินผิดปกติ ซึ่งระยะโรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ อินซูลินในกระแสเลือดไหวเวียนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะ เช่น สมอง กล้ามเนื้อ ฯลฯ ลดลง ทำให้น้ำตาลตกค้างในกระแสเลือด ไม่ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะภายในร่างกาย จนอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ และอวัยวะภายในร่างกายเกิดการดื้ออินซูลินหรือไม่สนองต่ออินซูลินที่ไหลเวียนในเลือด จนทำให้ปริมาณน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดมีปริมาณมากเกินไป
โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานนั้น เกิดจากอินซูลินที่นำน้ำตาลหล่อเลี้ยงอวัยวะภายในร่างกายทำงานผิดปกติ หรือร่างกายไม่ตอบสนองการทำงานของอินซูลิน ทำให้น้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดปริมาณมาก แล้วไตที่ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำตาล ไม่สามารถดูดซึมน้ำตาลกลับไปใช้ได้หมด ส่งให้น้ำตายรั่วมากับปัสสาวะ และเป็นต้นตอของการเกิดโรคดังกล่าวนั้นเอง สำหรับผู้ที่มีอาการหากรักษาไม่ถูกวิธี ไม่พบแพทย์ ไม่ทานยา มีโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อน แล้วปัญหาสุขภาพร้ายแรงอื่น ๆ ก็ตามมาด้วยนั้นเอง
สำหรับผู้ที่ตรวจพบโรคเบาหวาน จำเป็นต้องได้รับยาทานต่อเนื่อง เพื่อป้องกันอาการเบาหวานกำเริบ แล้วส่งผลเสียต่อร่างกายรุนแรง ซึ่งการออกฤทธิ์ของยารักษาโรคเบาหวานนั้น จะไปกระตุ้นให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย พร้อมรับพลังงานของแป้งและน้ำตาล แล้วช่วยกระตุ้นการทำงานของตับอ่อนให้หลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น หลังรับประทานอาหารเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทานยาได้ และควรมีความรู้เกี่ยวกับยาให้มาก ๆ ด้วย
ยารักษาโรคเบาหวาน มีกี่ชนิด
การทานยารักษาอาการของโรคเบาหวาน ไม่สามารถซื้อยาทานเองได้ ผู้ป่วยจะต้องพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยว่าโรคเบาหวานที่เป็นอยู่นั้นอยู่ในชนิดใด เพื่อวางแผนการรักษาและจัด กลุ่มยารักษาเบาหวาน ที่ถูกต่อโรคจริง ๆ โดยชนิดของโรคเบาหวาน แบ่งได้ 4 ชนิดด้วยกัน มีรายละเอียดต่อไปนี้
โรคเบาหวานชนิดที่ 1
เป็นอาการที่เกิดจาก “ตับอ่อน” ไม่สามารถส่งฮอร์โมนอินซูลินได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในเด็กเล็กหรือผู้ที่มีอายุไม่เกิน 30 ปี สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดแรกนี้ มีลักษณะผอม ไม่ได้อ้วน เหมือนที่หลายคนเข้าใจว่าเบาหวานจะต้องอ้วน น้ำหนักมาก ซึ่งชนิดนี้ตรงกันข้ามเลย แล้วแนวทางในการรักษาของแพทย์ นิยมฉีดอินซูลินเข้าร่างกาย หากร่างกายขาดอินซูลิน ผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะมีอาการหมดสติ คีโตนคลั่งอยู่ในกระแสเลือดได้ ปัจจุบันพบผู้ป่วยกลุ่มนี้ ร้อยละ 3.4
โรคเบาหวานชนิดที่ 2
เป็นอาการที่เกิดจาก “ร่างกายไม่ตอบสนองอินซูลิน” แต่ว่าตับอ่อนยังคงทำงานปกติ ผลิตอินซูลินได้ แต่ว่าร่างกายเกิดการดื้อฮอร์โมนดังกล่าวเอง ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 มักมีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ดังนั้นแนวทางการรักษาของแพทย์จะเน้นควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ไม่ใหสูงเกินไป แต่การรักษาข้างต้นเป็นแค่บรรเทา เพราะนานไป ก็ไม่สามารถควบคุมได้ จึงต้องฉีดอินซูลินช่วยอีกทางหนึ่ง อาการจึงทุเลา และปัจจุบันพบผู้ป่วยกลุ่ม ร้อยละ 97
โรคเบาหวานชนิดอื่นที่มีสาเหตุเฉพาะ
เป็นอาการที่เกิดจาก “ยาหรือสารบางชนิด” ที่ไปทำลายการทำงานของตับอ่อนและพันธุกรรม ทำหีระบบภายในร่างกายสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่ปกติ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีไม่เยอะ แต่ต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์เป็นรายบุคคล แผนการรักษาของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
โรคเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์
เป็นอาการที่เกิดจาก “รกในครรภ์ออกฤทธิ์ต้านการสร้างอินซูลิน” ทำให้หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานได้ ทว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์และเข้าพบแพทน์ตามนัดทุกครั้ง จะได้รับการดูแลอย่างดี จึงไม่ค่อยเป็นอันตรายถึงชีวิต หากไม่ละเลยการดูแลสุขภาพตนเอง
สำหรับใครที่สงสัยว่าตนเองเป็นโรคเบาหวานหรือไม่? วิธีการสังเกตง่าย ๆ คือ ปัสสาวะบ่อยครั้งในช่วงเวลากลางคืน รู้สึกกระหายน้ำตลอดเวลา มีผิวพรรณแห้งกร้านรุนแรงแม้จะทาครีมบำรุงสมำเสมอ เป็นแผลหายช้า สายตาพร่ามัว และชาบริเวณปลายนิ้วมือนิ้วเท้า เป็นต้น หากสังเกตอาการตนเองแล้วรู้สึกว่ามีอาการเกินครึ่งหนึ่ง ควรเข้ารับการตรวจร่างกายทันที โดยใช้เครื่องตรวจเบาหวาน หรือตรวจสุขภาพประจำปีทุกปีก็จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีที่สุด
ใช้ยารักษาโรคเบาหวานอย่างไรให้ปลอดภัย
ก่อนอื่น ทุกคนจะต้องทราบก่อนว่ายารักษาโรคเบาหวาน มีอะไรบ้าง ซึ่งยารักษาเบาหวานจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด เป็นรูปแบบของ “ยาฉีด” และ “ยาทาน” และตัวยาส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบของอินซูลิน ซึ่งตัวยาฉีด มักจะใช้แค่ช่วงที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นมาก ๆ เท่านั้น ดังนั้นยาที่ต้องทานเป็นประจำจะอยู่ในรูปแบบของยาทาน แล้วยาทาน จะแบ่งออกเป็น 3 เวลา รายละเอียดต่อไปนี้
- ยาก่อนอาหาร ควรรับประทานก่อนมื้ออาหาร 30 นาที เพราะตัวยาจะไปกระตุ้นให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินออกมา ควบคุมน้ำตาลจากอาหารที่กำลังจะทานเข้าสู่ร่างกาย
- ยาพร้อมอาหาร ควรรับประทานพร้อมกับข้าวคำแรกที่ทานเข้าไป เพราะยาในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ขวางการดูดซึมของน้ำตาลจากลำไส้เล็กไม่ให้เข้าสู่กระแสเลือด
- ยาหลังอาหาร ควรรับประทานหลังทานข้าวคำสุดท้ายทันที เพราะว่าในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์กระตุ้นให้อวัยวะภายในร่างกาย ดูดซึมน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดไปใช้ได้
แล้วการรับประทานยารักษาโรคเบาหวานที่ปลอดภัย มีรายละเอียดต่อไปนี้
- ทานยาให้ตรงกับเวลาที่ต้องทาน เช่น ยาที่ต้องรับประทานหลังอาหาร ควรทานหลังอาหารทันที ไม่ควรทานก่อนอาหาร เพราะยาแต่ละชนิด แต่ละช่วงเวลาออกฤทธิ์แตกต่างกัน
- ต้องทานยาสม่ำเสมอ ไม่ควรลืมทาน เพราะจะทำให้ยาออกฤทธิ์ได้ไม่ต่อเนื่องนั้นเอง หากลืมทานยาไปแล้ว ไม่ควรทานทบในมื้อถัดไป เพราะปริมาณยาที่ร่างกายได้รับสูงเกินไป
- ทานยาตามที่แพทย์ระบุมาให้ครบตามจำนวน ไม่นำยาเก่ามารับประทาน ควรทานยารอบต่อรอบให้หมด และปฏิบัติตามเนื้อหาสลากยาและคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
หากลืมทานยารักษาโรคเบาหวาน ต้องทำอย่างไร
สำหรับผู้ป่วยบางกลุ่มมักจะมีปัญหาในเรื่องของการลืมทานยา หากลืมไปแล้วควรจะปฏิบัติตนเองอย่างไรดี…? ให้สุขภาพไม่ทรุดโทรมลงไปกว่าเดิม ซึ่งขั้นตอนง่าย ๆ เลย
- สำรวจตนเองว่าลืมไปกี่วันแล้ว หากลืมนานเกิน 3-5 วัน ให้กลับไปพบแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำ เนื่องจากตัวยาแพทย์มีการวางแผนการรักษามาแล้วหลังจากที่ตรวจสอบรอบล่าสุดไป หากลืมทานยานาน ๆ อาการจะไม่ดีขึ้นตามแผนการรักษา แพทย์จะต้องปรับแผนการรักษาใหม่นั้นเอง
- ถ้าลืมทานยาเพียงแค่หนึ่งมื้อ ไม่จำเป็นต้องทบยาเพิ่มในมื้อถัดไป เพราะการทบยาจะทำให้ตัวยาออกฤทธิ์รุนแรงขึ้น อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้มากกว่าผลดี ให้ใช้วิธีการเว้นยาในมื้อนั้นไปเลย แล้วค่อยไปเริ่มทานมื้อถัดไปใหม่อีกครั้งหนึ่ง แล้วพบแพทย์ควรแจ้งจำนวนวันที่ลืมทานยาด้วย
และที่สำคัญการทานยา ควรรู้ว่า ยา เบาหวาน ห้าม กิน คู่ กับยา อะไร เพราะมีบางอย่างที่ไปขัดขวางร่างกายไม่ให้ดูดซึมยาได้ เช่น นม ทานยาคู่กับนม นมมีแคลเซียมสูง ทำให้ร่างกายดูดซึมยาไม่เต็มประสิทธิภาพ ควรดื่มนมหลังทานยา 30-60 นาที ฯลฯ
โรคเบาหวานสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศและทุกวัย และมีหลากหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการ หากมีอาการแล้ว ควรพบแพทย์ทันที เพื่อรับการรักษาและยาที่ถูกกับโรค เมื่อได้ยามาควรรับประทานอย่างถูกวิธี เพื่ออาการที่ดีขึ้น ไม่ใช่การทำลายสุขภาพทางอ้อมนั้นเอง
อ้างอิง
- โรคเบาหวาน. https://www.medparkhospital.com/content/diabetes-mellitus