ยาเบาหวาน ผลข้างเคียง ที่ต้องรู้เมื่อไปใช้รักษาโรคเบาหวาน
เมื่อเป็นโรคเบาหวานแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตนับว่าเป็นหัวใจที่สำคัญมากในการรักษาเพราะอย่างที่หลาย ๆ คนทราบกันอยู่แล้วว่าโรคเบาหวานเมื่อเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ทำได้เพียงแค่ต้องควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเท่านั้น สิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยควรทำคือปรับพฤติกรรมการกินโดยการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงรวมถึงอาหารฟาสฟู๊ดต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งด้วย
ประเภทยารักษาโรคบาหวานชนิดรับประทาน
- ยารักษาเบาหวานที่ออกฤทธิ์ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ ได้แก่
ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylureas) เช่น อะซีโตเฮกซาไมด์ (Acetohexamide), คลอร์โพรพาไมด์ (Chlorpropamide), โทลาซาไมด์ (Tolazamide), ไกลเมพิไรด์ (Glimepiride), ไกลพิไซด์ (Glipizide), ไกลเบนคลาไมด์ (Glibenclamide) หรือ อีกชื่อคือ ไกลบูไรด์ (Glyburide)
ผลข้างเคียง
- เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- มีผื่นที่ผิวหนัง
- ทำให้เกิดอาการแน่นท้อง
- ยารักษาเบาหวานที่ออกฤทธิ์ต้านการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ได้แก่
ยากลุ่มไบกัวไนด์ (Biguanides) เช่นยา เมทฟอร์มิน (Metformin)
ผลข้างเคียง
- ทำให้เกิดอาการแน่นท้อง
- มีอาการเบื่ออาหาร
- อาจทำให้เกิดภาวะกรดในเลือดสำหรับผู้ที่เป็นโรคตับและโรคไต
- ยากลุ่มไธอะโซลิดีนไดโอน (Thiazolidinediones) เช่นยา ไพโอกลิทาโซน (Pioglitazone)
ผลข้างเคียง
- อาจส่งผลเสียต่อตับ ควรหมั่นตรวจค่าตับเป็นประจำ
- ยารักษาเบาหวานช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ย่อยสลายคาร์โบไฮเดรตในลำไส้ ได้แก่
ยากลุ่มที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อัลฟ่ากลูโคซิเดส/เอนไซม์ยับยั้งการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรตในลำไส้ (Alpha – glucosidase inhibitor) เช่น อะคาร์โบส (Acarbose), โวกลิโบส (Voglibose), ไมกลิทอล (Miglitol)
ผลข้างเคียง
- อาจมีอาหารท้องอืด ท้องเดิน และปวดท้อง
- ยารักษาเบาหวานที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Dipeptidyl peptidase
ยากลุ่มนี้เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเอนไซม์ dipeptidyl peptidase 4 เช่น วิลดากลิปติน (Vildagliptin), ซิตากลิปติน (Sitagliptin), แซกซ่ากริปติน (Saxagliptin), ลิน่ากลิปติน (Linagliptin)
ผลข้างเคียง
- ไม่มีผลข้างเคียง
- ยารักษาเบาหวานที่ออกฤทธิ์ควบคุมการดูดซึมกลับของน้ำตาลกลูโคสบริเวณท่อไต
ยากลุ่ม Sodium – glucose Cotransporter inhibitors (SGLT2 inhibitors): เช่นยา ดาพากลิโฟลซิน (Dapagliflozin), คานากลิโฟลซิน (Canaglifloziin), เอ็มพากลิโฟลซิน (Empagliflozin)
ผลข้างเคียง
- ไม่มีผลข้างเคียง
ยารักษาเบาหวานชนิดฉีด
การรักษาเบาหวานโดยการฉีดเข้าไปที่ใต้ผิวหนังบริเวณต้นขาหรือหน้าท้องปัจจุบันมียาหลายชนิดมาก เช่น อินซูลินและยากลุ่ม GLP-1 analogue การฉีดนั้นผู้ป่วยสามารถฉีดได้ด้วยตัวเองโดยต้องฉีดวันละ 1-4 ครั้งก่อนอาหารประมาณครึ่งชั่วโมงหรือฉีดก่อนนอนและไม่ควรฉีดที่บริเวณเดิมซ้ำ ๆ ให้เปลี่ยนตำแหน่งแทงเข็มไปเรื่อย ๆ
สำหรับตัวยาอินซูลิน เมื่อทำการตรวจเช็คน้ำตาลในเลือดแล้ว ผู้ป่วยสามารถใช้ได้ในทุกกรณีที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง แต่อาจมีข้อบ่งชี้เฉพาะ เช่น ภาวะคั่งจากคีโตน การตั้งครรภ์ การผ่าตัด การติดเชื้อรุนเเรง โรคไต โรคตับ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงรุนแรง และผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้
ผลข้างเคียง
- น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
- อาจเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ
ปัจจัยที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานคือการควบคุมอาหารและรับประทานยาหรือฉีดยาเพื่อการรักษาต่อเนื่องสม่ำเสมอจึงจะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งยาแต่ละชนิดก็จะมีผลข้างเคียงที่แตกต่างกันไป ผู้ป่วยควรศึกษาประเภทของยาที่ใช้และใช้ด้วยความระมัดระวังต่อผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ หากผู้ป่วยรู้สึกว่าผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นรุนแรงเกินไปควรปรึกษาแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนประเภทยาที่ใช้ให้ปลอดภัยต่อตัวเรามากที่สุด
อ้างอิง :