การป้องกันโรคเบาหวาน รู้ไว้ก่อนรับมือได้! 

การป้องกันโรคเบาหวาน รู้ไว้ก่อนรับมือได้! 

ปัจจุบันนี้พบว่าสถิติอายุของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีค่าน้อยลงเรื่อย ๆ นั่นหมายความว่ามีผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานมีอายุเฉลี่ยที่น้อยลงจากที่พบมากในช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไป ทว่าตอนนี้คนที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นพบว่ามีอัตราป่วยเป็นโรคเบาหวานมากขึ้น เบาหวานจึงไม่ใช่โรคของผู้สูงอายุอีกต่อไปและเป็นโรคที่ใกล้ตัวเรามาก ดังนั้นเพื่อให้ห่างไกลจากการเป็นเบาหวาน วันนี้เรามีความรู้เกี่ยวกับ การป้องกันโรคเบาหวาน มาฝากกัน


ชนิดของโรคเบาหวาน

การป้องกันโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานในปัจจุบันนี้สามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิดด้วยกัน ดังนี้ 

  1. เบาหวานชนิดที่ 1 คือ โรคเบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย 
  2. เบาหวานชนิดที่ 2 คือ โรค เบาหวานที่เกิดจากการที่ร่างกายสร้างอินซูลินลดลงและร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลินทำให้ร่างกายไม่สามารถดึงน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ ส่วนมากจะมีสาเหตุหลักกรรมพันธุ์
  3. เบาหวานชนิดพิเศษ คือ โรคเบาหวานที่เกิดจากการที่ตับอ่อนมีความผิดปกติหรือมีอาการของโรคเกี่ยวกับการทำงานของอินซูลินผิดปกติ
  4. เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือ โรคเบาหวานที่เกิดกับหญิงสาวที่ตั้งท้อง ซึ่งเบาหวานชนิดนี้จะหายไปเองหลังคลอด แต่ผู้ป่วยก็จะมีความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคตได้ หากไม่ดูแลตัวเองให้ดี

อาการโรคเบาหวานมีลักษณะอย่างไร

การป้องกันโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยส่วนมากที่แสดงอาการจะเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แต่ว่าผู้ป่วยเบาหวานทุกชนิดจะมีอาการที่แสดงออกมาส่วนใหญ่ที่คล้ายคลึงกัน โดยอาการที่พบได้บ่อยมีดังนี้

  1. น้ำตาลในเลือดสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นอาการหลักที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งเมื่อทำการวัดค่าน้ำตาลในเลือดจะพบว่าปริมาณสูงกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งบางครั้งอาจสูงกว่า 200 มิลลิกรัมจะมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นร่วมด้วย
  2. กระหายน้ำและปัสสาวะบ่อย เมื่อร่างกายมีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ร่างกายจะต้องลดปริมาณน้ำตาลที่อยู่ในเลือดให้น้อยลง จึงต้องการน้ำเพื่อเข้าไปเจือจางน้ำตาลและขับน้ำตาลออกทางปัสสาวะ จึงทำให้รู้สึกกระหายน้ำอยู่ตลอดเวลาและมีอาการปัสสาวะบ่อยเกิดขึ้นพร้อมกัน
  3. กินบ่อยแต่น้ำหนักลด ภาวะเบาหวานคือภาวะที่อินซูลินไม่สามารถดึงน้ำตาลที่อยู่ในเลือดไปใช้ได้ ทำให้น้ำตาลในเลือดมีปริมาณสูง เมื่อร่างกายไม่สามารถดึงนำกลูโคสไปใช้ได้ ร่างกายจึงต้องดึงไขมันและกล้ามเนื้อมาสร้างเป็นพลังงานในการดำรงชีวิต ส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อลีบและน้ำหนักลด
  4. คันผิวหนัง มีภาวะผิวหนังแห้ง เนื่องจากร่างกายดึงน้ำไปใช้ในการเจือจางน้ำตาลในเลือด ส่งผลให้ผิวหนังมีภาวะแห้งและคันขึ้น
  5. แผลหายช้า เนื่องจากคนที่เป็นเบาหวานเส้นเลือดจะตีบและมีขนาดเล็กลง ทำให้สารอาหารในเลือดไม่สามารถส่งไปยังบริเวณผิวหนังที่เกิดแผลหรือถึงแม้จะส่งไปถึงปริมาณสารอาหารก็น้อยส่งผลให้แผลหายช้า

อาการของโรคเบาหวานที่กล่าวมาข้างต้นเป็นอาการที่แสดงออกเมื่อภาวะของโรคอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายกับร่างกายแล้ว หากเป็นเบาหวานในช่วงเริ่มต้นจะไม่แสดงอาการใด ๆ ให้ตัวผู้ป่วยเห็น ดังนั้นควรทำการตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานให้น้อยลง


การรักษาและป้องกัน

การป้องกันโรคเบาหวาน

การรักษาโรคเบาหวานมีการวิจัยและพัฒนาแนวทางรักษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันนี้เบาหวานสามารถทำการรักษาได้ทั้งแบบหายขาดและแบบควบคุม ทั้งนี้การรักษาจะเป็นแบบใดก็ขึ้นอยู่กับระยะของโรคเบาหวานของผู้ป่วย โดยสามารถแบ่งการรักษาโรคเบาหวานได้ดังนี้

  1. การรักษาแบบหายขาด เป็นการรักษาที่ทำการวิจัยกันมาจนพบว่าสามารถรักษาผู้ป่วยเบาหวานให้หายขาดได้ด้วยการผ่าตัดกระเพาะอาหารให้มีขนาดเล็กลงเพื่อให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักคงที่เป็นการรักษาที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคอ้วนร่วมด้วย ซึ่งการรักษาเบาหวานให้หายขาดสามารถใช้กับผู้ป่วยเบาหวานระยะเริ่มต้นเท่านั้น 
  2. การรักษาแบบควบคุม เป็นการรักษาโรคเบาหวานที่ใช้สำหรับผู้ป่วยเบาหวานทุกคน ซึ่งการรักษาแบบนี้ผู้ป่วยจะต้องกินยาและดูแลตัวเองควบคู่กันไปตลอดชีวิต โดยการดูแลตัวเองที่ช่วยให้อาหารของโรคเบาหวานไม่เกิดโรคแทรกซ้อนที่ต้องทำคือ
  3. ปรับพฤติกรรมการกิน การรับประทานอาหารให้เหมาะสมเพื่อปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่อยู่ในระดับปกติ ด้วยการดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้วต่อวัน ทานอาหารให้ตรงเวลาทั้ง 3 มื้อ งดอาหารที่มีมันและน้ำมันที่มาจากสัตว์ที่มีปริมาณของคาร์โบไฮเดรตสูง ลดอาหารที่มีลดจัดไม่ว่าจะเป็นเค็มจัด หวานจัดและมันจัด เน้นกินผักใบเขียวและผลไม้ที่ให้น้ำตาลน้อย เช่น ชมพู่ ฝรั่ง เป็นต้น
  4. ออกกำลังกาย การออกกำลังจะเป็นการกระตุ้นให้อินซูลินที่อยู่ในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ดี โดยการออกกำลังกายควรออกทั้งแบบ Weight Training เพื่อช่วยให้ร่างกายทำการเผาผลาญพลังงานมากขึ้น และแบบ Cardio เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยการออกกำลังกายทั้ง 2 แบบอย่างน้อยวันละ 30 นาทีต่อวันหรือ 150 นาทีต่อสัปดาห์ 
  5. กินยาตามเวลา ยาควบโรคเบาหวานจะต้องกินตามที่แพทย์สั่ง โดยแพทย์จะดูจากค่าเลือดที่วัดได้และระยะของเบาหวานเพื่อที่จะสั่งยาให้เหมาะสม ซึ่งผู้ป่วยจะต้องกินยาควบคู่กับการปรับพฤติกรรมการกินและออกกำลังกายร่วมด้วย อาการของโรคเบาหวานจึงจะอยู่ในสภาวะปกติ ไม่มีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้น 

ปัจจุบันนี้พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยเมื่อตรวจพบผู้ป่วยจะเป็นโรคเบาหวานชนิดเรื้อรังเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยจะต้องกินยาและดูแลตัวเองตลอดชีวิต โรคเบาหวานไม่ร้ายแรงแต่เป็นแล้วคุณจะใช้ชีวิตลำบาก ดังนั้นแนวทางในการรักษาโรคเบาหวานที่ดีที่สุดก็คือการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากการเป็นโรคเบาหวาน พร้อมทั้งตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หากมีสัญญาณเตือนของโรคเบาหวานจะได้ทำการรักษาได้ทันท่วงที


ที่มา

https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/diabetes-2

https://www.pobpad.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99

https://www.medparkhospital.com/content/diabetes-mellitus