รักษาเบาหวาน มีเป้าหมาย หลักการและแนวทางการรักษาอย่างไร

เป้าหมายหลักของการ รักษาเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ เป้าหมายหลักของการ รักษาเบาหวาน คือ การคุมน้ำตาลในเลือดเอาน้ำตาลเข้าให้ช้าและน้อยที่สุด ใช้พลังงานที่เหลือใช้เพิ่มเติมให้มากที่สุดนอกจากนี้สิ่งที่ทำให้น้ำตาลในเลือดแกว่งได้อีกอย่างก็คือ ภาวะความเครียด ซึ่งทำให้ร่างกายตอบสนองด้วยการหลั่งสารความเครียดออกมา เช่น คอซอล พวกนี้มีฤทธิ์ในการต่อต้านการทำงานของอินซูลิน ปกติอินซูลินก็ทำงานลำบากอยู่แล้ว ยังไปเจอสารต้านการทำงานของอินซูลินอีก น้ำตาลก็ยิ่งขึ้นสูงที่สำคัญที่สุดไม่ว่าจะเป็นการรักษาแบบไหน ก็คือการเปลี่ยนแปลงทัศนคติในการกินและการออกกำลังกาย

เป้าหมายหลักของการรักษาเบาหวาน

ทั้งนี้ ระดับน้ำตาลที่ตรวจกันจริงๆ แล้ว ไม่ใช่เป้าหมายหลักของการรักษาโรคเบาหวาน แต่ที่กลัวกันเวลาคนเป็นเบาหวาน นั่นคือ การมีภาวะแทรกซ้อนบางอย่างเกิดขึ้น โดยในปัจจุบันโรคเบาหวานเป็นโรคที่ยังรักษาไม่หายขาด และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ก็อาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ ซึ่งแบ่งออกได้หลายชนิดได้แก่

  • Micro vascular Complication หรือภาวะหลอดเลือดขนาดเล็กที่มีปัญหา
  • Macro vascular Complication หรือภาวะหลอดเลือดขนาดใหญ่ที่มีปัญหา
  • ภาวะของน้ำตาลไม่ถูกนำไปใช้ มีพลังงานเหลือใช้ ร่างกายจะเปลี่ยนไปเป็นไขมัน ทำให้มีภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia)
  • เนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้แหล่งพลังงานหลักได้ คือ น้ำตาล ร่างกายต้องหาแหล่งพลังงานทดแทน ต้องใช้แหล่งโปรตีน ฉะนั้นคนที่เป็นเบาหวานระยะหนึ่ง จะมีปัญหากล้ามเนื้อลีบฝ่อลง หรือถ้าเป็นมากมีภาวะเสียสมดุลมากๆ ทำให้เลือดเป็นกรดมาก จะทำให้เกิดภาวะช็อคได้ เรียกว่า Diabetic ketoacidosis (DKA) หรือ Hyperosmolar coma หมดสติไปได้
  • นอกจากน้ำตาลที่สูงมากจะมีผลต่อการทำงานเม็ดเลือดขาวบางชนิด ทำให้เกิดภาวะภูมิต้านทานด้อยลง (Immunocompromise)

หากไม่มีการควบคุมในเรื่องของการรับประทานอาหารและดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธี ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อเส้นเลือดที่นำสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกายจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทั้งโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดเล็ก เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต เป็นต้น หรือโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดใหญ่ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน เป็นต้น รวมไปถึงโรคแทรกซ้อนที่ระบบประสาทและที่สามารถทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียอวัยะบางส่วน นอกจากนี้สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ การแท้งบุตรได้

ดังนั้น หลักในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของเบาหวาน ซึ่งประกอบด้วยการใช้ ยารักษาโรคเบาหวาน (การฉีดอินซูลินสำหรับเบาหวานชนิดที่ 1 และยากินหรือฉีดอินซูลินร่วมด้วยสำหรับเบาหวานชนิดที่ 2) และการปรับวิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก โดยในการปรับวิถีชีวิตหรือพฤติกรรมความเป็นอยู่ ควรต้องปรับในเรื่องอาหารการกิน คือ ต้องควบคุมอาหารโดยมีเป้าหมายเพื่อให้น้ำหนักลดลงช้าๆ มากกว่าที่จะพยายามทำให้น้ำหนักเป็นปกติ และพยายามหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง รวมทั้งเลี่ยงอาหารฟาสต์ฟู้ดต่างๆ และควรออกกำลังกายอยู่เป็นประจำวันละ 30 – 60 นาที และลดการอยู่นิ่งๆ หรือนอนดูโทรทัศน์ และเล่นเกมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

แนวทางการรักษาเบาหวาน

อย่างที่เกริ่นไปว่าการปรับ lifestyle หรือวิถีการดำเนินชีวิตนั้นมีความสำคัญอย่างมากสำหรับการรักษาเบาหวาน  ซึ่งพฤติกรรมต่อไปนี้คือสิ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องปรับเปลี่ยน เป็นแนวทางการรักษาเบาหวานที่ัยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีระยะยาว 

แนวทางการรักษาเบาหวาน

  1. ควบคุมอาหาร การควบคุมอาหารไม่ได้หมายถึงการลดปริมาณอาหาร แต่เป็นการรับประทานอาหารที่เหมาะสมทั้งปริมาณและชนิดของอาหาร ควรเลือกบริโภคอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ โดยปริมาณน้ำตาลที่รับประทานทั้งวันต้องไม่เกินร้อยละ 5 ของพลังงานรวม (ประมาณ 3-5 ช้อนชา) และควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน หรือขนมหวาน เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย นอกจากนี้ การเลือกรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีสารอาหารครบถ้วน ก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาสุขภาพที่ดีด้วยเช่นกัน
  2. บริโภคอาหารที่มีกากใยสูง กินอาหารให้ได้ใยอาหาร 14 กรัม ต่ออาหาร 1,000 กิโลแคลอรี ควรรับประทานผลไม้รสหวานในปริมาณที่พอเหมาะ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ รวมทั้งน้ำผึ้ง น้ำผลไม้ และผลไม้ที่มีรสหวานจัด
  3. ออกกำลังกายช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด การออกกำลังกายทำให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด นอกจากนี้ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิตและทำให้ระดับไขมันในเลือดดีขึ้น ก่อนออกกำลังกายควรประเมินสุขภาพด้วยว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจหรือไม่ ซึ่งควรเริ่มออกกำลังกายจากเบาๆ ก่อน ให้ชีพจรเท่ากับร้อยละ 50-70 ของชีพจรสูงสุด และควรออกกำลังกาย 150 นาทีต่อสัปดาห์ โดยออกกำลังกายวันละ 30-50 นาที 3-5 วันต่อสัปดาห์
  4. การใช้ยาจะเป็นลำดับสุดท้ายในการรักษาเบาหวาน หากผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้จากการคุมอาหารและออกกำลังกาย ก็จำเป็นต้องใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ยาที่ใช้ในการรักษามีหลายกลุ่มทั้งยากินและยาฉีด ขึ้นกับระดับน้ำตาลในเลือดและสภาวะเจ็บป่วยอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย

อ้างอิง :