ใบกระท่อมเบาหวาน

ใบกระท่อมเบาหวาน แนะนำวิธีกินอย่างไร ให้ลดได้อย่างปลอดภัย

ใบกระท่อมเบาหวาน แนะนำวิธีกินอย่างไร ให้ปลอดภัย

ไม่นามานี้ถือได้ว่าเป็นข่าวดีที่ “พืชกระท่อม” ได้ปลดล็อคจากการเป็นสารเสพติด สู่พืชสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างถูกกฎหมาย แน่นอนเลยว่าผลยืนยันทางการแพทย์นั้นพบว่า “ใบกระท่อม” สามารถใช้ระงับอาการต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตามสารออกฤทธิ์ในกลุ่มใบกระท่อม ก็เปรียบดั่งสมุนไพรพื้นบ้านที่เชื่อว่าเป็นยาชูกำลัง แก้ไอ แก้อาการนอนไม่หลับ พร้อมทั้งประโยชน์อีกหลากหลาย แต่ก็อย่าลืมว่ามีผลเสียอีกเช่นเดียวกัน เมื่อกินมากเกินไป ซึ่งวันนี้พวกเราจะพาไปไขปริศนาเกี่ยวกับ ใบกระท่อม ถ้าได้อ่านจนจบแล้วทุกคนจะเข้าใจพืชชนิดนี้มากขึ้น กับ สรรพคุณที่เป็นมากกว่า “ยาเสพติด” รวมไปถึง ใบกระท่อมเบาหวาน แนะนำวิธีกินอย่างไร ให้ปลอดภัย เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ติดตามอ่านกันได้ในบทความนี้ 


ใบกระท่อมช่วยลดเบาหวานได้จริงหรือไม่

ใบกระท่อมเบาหวาน

ก่อนอื่นเลยต้องขออธิบายเกี่ยวกับคำถามแรกก่อนว่า “ใบกระท่วมช่วยลดเบาหวานได้จริงหรือไม่” ต้องขอพูดถึงก่อนว่า กระท่อมนั้นเป็นพืชสมุรไพร ที่มีสารออกฤทธิ์ในกลุ่ม โอปิออยด์ (opioids) จะเป็นกลุ่มเดียวกับยาเฟนทานิล (Fentanyl) ยามอร์ฟีน (Morphine) ยาเมทาโดน (Methadone) และ ยาทรามาดอล (Tramadol) โดยจะใช้เป็นยาในการระงับอาการปวดเป็นหลัก ซึ่งยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ใดยืนยันเลยว่า กระท่อมนั้นมีประโยชน์ในการรักษาเบาหวานในมนุษย์ได้ ถึงแม้ว่าจะมีการทดลองในสัตว์บ้าง แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าการใช้กระท่อมรักษาโรคเบาหวานได้นั่นเอง ในจุดนี้จึงยังขอยืนยันว่าไม่ได้

ที่สำคัญต้องรู้เอาไว้ว่าสิ่งที่เป็นความจริง มีหลักฐานมาแล้วว่า การใช้กระท่อม อาจจะนำไปสู่ภาวะตับวาย ไตวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ ชักหมดสติด้วย ซึ่งแน่นอนว่าในกลุ่มนี้อาจจะใช้กระท่อมเกินขนาด ซึ่งปัจจุบันยังขอยืนยันเลยว่า องค์การอาหารและยาสหรัฐ ยังไม่อนุมัติให้ใช้กระท่อมในการรักษาโรคใดๆ รวมถึงโรคเบาหวานด้วย ถ้าสำหรับในประเทศไทยเป็นเพียงสมุนไพรพื้นบ้านที่มีสรรพคุณที่น่าสนใจเกี่ยวกับการช่วยชูกำลังเท่านั้น โดยยังไม่ได้จัดอยู่ในหมวดหมู่ของสมุนไพรรักษาเบาหวาน


เปิดสรรพคุณใบกระท่อมให้ประโยชน์อะไรบ้าง

ใบกระท่อมเบาหวาน

ความน่าสนใจของใบกระท่อม คงจะต้องย้อนเรื่องราวกันหน่อยให้ทุกคนทำความเข้าใจเกี่ยวกับพืชสมุนไพรชนิดนี้ ว่ามีมากกว่าคำว่ายาเสพติด เพราะว่าพืชกระท่อมมีคุณสมบัติที่น่าสนใจ ซึ่งถ้าจะพูดถึงเรื่องที่ทุกคนรู้กันเกี่ยวกับสรรพคุณของใบกระท่อมก็คือ 

“เป็นยาชูกำลังพื้นบ้าน แก้ไอ แก้อาการนอนไม่หลับ แก้ปวดเมื่อย ส่วนวิธีใช้คือการเคี้ยวใบสด กับ การนำใบแห้งชงเป็นชา นอกจากนี้ในตำรับของยาไทย ยังรักษาโรคท้องร่วง แต่ทว่าการกินไม่ควรกินมากใบ เพราะจะกลายเป็นส่งผลเสียต่อร่างกายแทน เช่น ระบบประสาทที่ทำให้ง่วง ซึม รวมทั้งอาจจะหมดสติได้ในบางราย ถ้ากินมากเกินไปก็อาจจะทำให้มีอาการท้องผูกได้เช่นกัน” 

สรรพคุณที่กล่าวมาข้างต้น ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าใจได้เกี่ยวกับ “พืชกระท่อม” อย่างไรก็ตามสรรพคุณที่แท้จริงของใบกระท่อมจะบรรเทาอาการปวด บรรเทาอาการไอ รวมทั้งอาการอื่น ๆที่น่าสนใจอีกเช่น พืชกระท่อมยังสามารถใช้ทดแทนยามอร์ฟีนที่ได้รับการปวดได้ เพียงแต่ว่าจะมีฤทธิ์น้อยกว่าสิบเท่า แต่ในจุดนี้ก็มีข้อดีคือจะกดอาการหายใจ หรือ ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนน้อยลงด้วย คุณสมบัติอีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือ สามารถใช้บำบัดผู้ที่ติดยาเสพติด หรือ มอร์ฟีนได้อีกด้วย แต่ถ้าใช้เกินขนาดก็จะเกิดโทษทันที 


พืชกระท่อม ใช้เกินขนาด 

เมื่อมีประโยชน์ที่น่าสนใจ “พืชกระท่อม” ก็มีส่วนที่เป็นโทษต่อร่างกายด้วยเช่นกัน ซึ่งในกรณีที่ได้รับมากเกินไป จะทำให้เรานั้นไม่อยากอาหาร มีอาการปัสสาวะบ่อย ท้องผูก เหงื่อออก วิตกกังวล หัวใจเต้นเร็วขึ้น อีกทั้งแพ้แสงไม่อยากโดนแสง สีผิวที่อาจจะเข้ม หรือ คล้ำขึ้นด้วยนั่นเอง ก่อนหน้านี้พืชกระท่อมถูกระบุว่าเป็นสารเสพติด ก็เพราะว่าเมื่อเสพเข้าไปในปริมาณมาก ๆ จะทำให้เกิดอาการประสาทหลอนนั่นเอง 

ซึ่งบุคคลที่ไม่ควรใช้ “พืชกระท่อม” เลยก็คือ ผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต,ผู้ที่มีการติดสุราเรื้อรัง,ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ รวมทั้ง ผู้ที่ท้อง และ ให้นมบุตรอยู่ เพราะจะกลายเป็นส่งผลเสียมากกว่าผลดีแทน


ผู้ป่วยเบาหวานกินใบกระท่อมอย่างไรให้ปลอดภัย

ใบกระท่อมเบาหวาน

สำหรับพืชกระท่อม จัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่งพืชสมุนไพรพื้นบ้านของไทย ที่สามารถบรรเทาอาการไอ กับ อาการปวดได้จริง แต่ทว่าการรักษาอาการต่าง ๆ ด้วยใบกระท่อม จะต้องมีวิธีการใช้งานให้ถูกวิธีดังต่อไปนี้ 


วิธีเคี้ยวใบกระท่อมอย่างถูกวิธี

1.ให้นำใบกระท่อมสด มาล้างน้ำให้สะอาด ก่อนที่จะผึ่งน้ำเอาไว้ให้สะเด็ด

2.ลอกก้านใบออก ซึ่งทำได้ 2 วิธีคือ ลอกเส้นใบออกในลักษณะเป็นรูปก้างปลา แล้วก็ลอกเส้นกลางใบออก ให้เหลือแต่เพียงเนื้อใบ และ ลอกเฉพาะส่วนเนื้อใบเพื่อนำมาเคี้ยว

3.เคี้ยวใบกระท่อมให้ละเอียด ก่อนดูดกลืนน้ำลงคอ

4.คายกากทิ้ง พร้อมทั้งดื่มน้ำตามให้มาก


ข้อควรระวัง 

ใบกระท่อมเบาหวาน

สำหรับการเคี้ยวใบกระท่อมสด ควรลอกก้านใบ รวมทั้งเส้นกลางใบออกก่อนทำการเคี้ยวทุกครั้ง ซึ่งถ้าหากว่าไม่รูดก้านออกจากตัวใบ อาจจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า “ถุงท่อม” ภายในลำไส้ เพราะว่าก้านใบ กับ ใบของกระท่อมนั้น ไม่สามารถย่อยได้ จึงจะตกตะกอนติดค้างอยู่ภายในลำไส้ ซึ่งจะขับถ่ายออกมาไม่ได้ จนเกิดพังผืดขึ้นมาหุ้มรัดอยู่โดยรอบก้อนกากกระท่อม ซึ่งจะเกิดก้อนถุงขึ้นมาในลำไส้นั่นเอง ข้อควรระวังเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ไม่สามารถดื่มน้ำต้มใบกระท่อม หรือ ส่วนประกอบของใบกระท่อมได้จะมีดังต่อไปนี้ 

  • เด็ก และ เยาวชน เพราะใบกระท่อมอาจจะส่งผลต่อสุขภาพของเด็กได้ 
  • สตรีมีครรภ์ ใบกระท่อมจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ได้ 
  • สตรีที่ให้นมบุตร ใบกระท่อมจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทารกที่กินนมจากแม่ได้เช่นกัน 

ถึงแม้ว่าใบกระท่อม หรือ พืชกระท่อม จะสามารถนำมาบริโภคกันในบ้านได้อย่างถูกกฎหมายแล้วก็ตาม แต่ทว่าห้ามนำไปผสมกับยาเสพติดให้โทษชนิดอื่น รวมทั้งห้ามขายใบกระท่อมที่ต้มเป็นน้ำแล้ว เพราะยังผิดกฎหมายอยู่ 


ผู้ป่วยเบาหวาน ลดได้ด้วย “พืชกระท่อม” อย่างไร

อีกหนึ่งสรรพคุณของใบกระท่อมนั่นก็คือ ลดน้ำตาลในเลือด ซึ่งเป็นสรรพคุณที่เป็นแนวทางในการรักษาโรคเบาหวานสำหรับผู้ป่วย แต่ทว่าจะต้องใช้ให้ถูกวิธี รวมทั้ง ทานยาแผนปัจจุบันควบคู่ไปกับการรักษาด้วย โดยวิธีที่จะให้ผู้ป่วยเบาหวานกินใบกระท่อมอย่างปลอดภัยมีดังนี้

  • ใช้กระท่อมทั้ง 5 นั่นก็คือ ใบ กิ่ง เปลือกต้น รากเนื้อไม้ หรือ ใช้ต้นกระท่อมต้นเล็ก สูงประมาณ 1 ศอก 1 ต้น นำมาสับใส่หม้อ รับประทานครั้งละ 3-5 ช้อนแกง เช้า เย็น 
  • เคี้ยวใบกระท่อมวันละ 2 ใบ ก่อนอาหารเช้า เคี้ยวเอาแต่น้ำ คายกากทิ้ง ดื่มน้ำอุ่นตาม
  • สามารถใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น เช่น หญ้าใต้ใบ ผักเสี้ยนผี น้ำนมราชสีห์ เป็นต้น

สายพันธุ์กระท่อมที่นิยมใช้ในประเทศไทย

ใบกระท่อมเบาหวาน

สำหรับสายพันธุ์ที่นิยมใช้นั่นก็คือ สายพันธุ์ก้านแดง ด้วยเหตุผลของหมอพื้นบ้าน ที่นิยมนำมาเป็นส่วนของเครื่องยาในตำรับ รวมทั้งใช้เป็นยาเดี่ยวเพื่อรักษาโรคท้องร่วง โรคเบาหวาน โรคปวดเมื่อย แก้ไอ ขับพยาธิ อีกทั้งชาวบ้านยังนิยมการเคี้ยวใบสด เพื่อทำงาน เพื่อสังสรรค์ อีกทั้งเป็นยารักษาโรคด้วยนั่นเอง ส่วนเหตุผลที่ใช้พันธุ์ก้านแดงเพราะว่า

“พันธ์ก้านเดงที่ใช้งานก็เพราะว่า ตัวพันธุ์ก้านเขียว เมื่อกินแล้วจะมีเมือก อีกทังออกฤทธิ์นานกว่า แต่ก้านแดงออกฤทธิ์ได้รวดเร็ว อีกทั้งยังทากว่าก้านอื่น ๆ ในขณะกินในปริมาณที่เท่ากัน เวลาเดียวกัน” 

สำหรับใบกระท่อมสายพันธุ์ยักษ์ใหญ่ ชาวบ้านจะไม่นิยมปลูก ซึ่งให้เหตุผลว่า “เมื่อเคี้ยวใบพันธุ์ยักษ์ใหญ่แล้ว จะมีอาการเมา มากกว่าพันธุ์ก้านแดง 


สำหรับใบกระท่อมนั้น หลังจากที่ได้ศึกษาข้อมูลแล้ว ถึงแม้ว่ายังไม่มีการยืนยันจากสากลว่าช่วยในเรื่องของลดเบาหวานได้ แต่หมอพื้นบ้าน หรือ ชาวบ้านที่คลุกคลีกับวงการพืชกระท่อมเป็นอย่างดี ได้ออกมาเปิดเผยแล้วว่า สามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ อีกทั้งเป็นพืชที่มีสรรพคุณที่น่าสนใจมากมาย อย่างไรก็ตามจะต้องรับประทานอย่างถูกวิธี นั่นก็คือ การเคี้ยวสด เคี้ยวเอาน้ำ คายกากทิ้ง ไม่เช่นนั้นแล้วจะเกิดอันตรายต่อลำไส้เมื่อนำกากเข้าสู่กระเพาะอาหาร ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยได้นั่นเอง สำหรับทั้งหมดก็คือเรื่องราวของ “ใบกระท่อม” กับ “โรคเบากหวาน” เชื่อเลยว่าจะทำให้ท่านผู้อ่านหันมาสนใจ และ ปรับเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับพืชสมุนไพรชนิดนี้ใหม่ว่า ไม่ได้เป็นสารเสพติดแต่อย่างไร เพียงแค่ให้โทษเมื่อใช้เกินขนาด 


อ้างอิงจาก:

https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2181425

https://www.hfocus.org/content/2021/10/23548

https://www.bangkokpattayahospital.com/th/healthcare-services/dm-and-endocrinology-center-th/diabetes-articles-th/item/3136-diabetes-kratom-th.html