สารให้ความหวาน

สารให้ความหวาน แนะนำสำหรับผู้ป่วยเบาหวานกินแล้วปลอดภัย

สารให้ความหวาน แนะนำสำหรับผู้ป่วยเบาหวานกินแล้วปลอดภัย

สารให้ความหวาน เป็นสารชนิดหนึ่งที่ใช้แทนน้ำตาล สำหรับปรุงรสอาหารหรือผสมในเครื่องดื่มเพื่อทำให้อาหารมีรสหวานหรือน่ารับประทานมากขึ้น ซึ่งมักใช้ในกลุ่มคนที่ต้องการควบคุมน้ำตาลหรือกลุ่มคนรักสุขภาพ เพราะเชื่อว่าน่าจะให้โทษน้อยและดีกว่าการรับประทานน้ำตาลปกติทั่วไป วันนี้เรามาทำความรู้จักสารให้ความหวานกันมากขึ้นและทานแล้วดีจริงหรือ แล้วเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานหรือไม่? ไปดูกัน


สารให้ความหวานคืออะไร?

สารให้ความหวาน

โรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดจากการทานหวานมากเกินไป ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายเป็นอย่างมาก จึงทำให้เทรนด์การรักสุขภาพหาสิ่งทดแทนน้ำตาลมานั่นก็คือ สารให้ความหวานหรือน้ำตาลเทียม คุณสมบัติเด่นคือมีรสชาติหวาน ซึ่งสารให้ความหวานเหล่านี้ก็มีทั้งแบบสังเคราะห์และแบบสกัดจากธรรมชาติ มีทั้งชนิดที่ให้พลังงานและไม่ให้พลังงาน มักจะไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ หรือบางชนิดก็มีประโยชน์ในด้านการแพทย์ โดยเฉพาะกับผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ที่ต้องการคุมน้ำตาล โดยสารให้ความหวานแทนน้ำตาลมีอยู่หลากหลายชนิด เช่น

  •  สารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบบธรรมชาติ มีทั้งชนิด glycoside และ non-glycoside
  • Glycoside เช่น sorbitol, xylitol, erythritol, stevia glycosides และสารสกัดจากหล่อฮังก๊วย
  • Non-glycoside เช่น maltitol, thaumatin และ brazzein
  • สารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบบสังเคราะห์ ได้แก่ saccharin, cyclamate, alitame, acesulfame potassium, sucralose, aspartame, advantame และ neotame

ซึ่งสารให้ความหวานแทนน้ำตาลแต่ละตัวนั้นก็แตกต่างกันออกไป มีคุณสมบัติเฉพาะตัวไม่เหมือนกัน ทั้งให้ความหวานที่ไม่เท่ากัน กลิ่น หรือสีที่แตกต่างกันออกไป สารบางตัวก็สามารถทนความร้อนได้ บางตัวก็ไม่ทนความร้อน ดังนั้นสารให้ความหวานบางตัวสามารถใช้ได้เฉพาะนำมาโรยบนอาหาร บนขนม หรือผสมในเครื่องดื่มเท่านั้น

คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สารให้ความหวาน ส่วนใหญ่ไม่แนะนำให้ใช้ในกลุ่มเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี หรือผู้หญิงตั้งครรภ์และกำลังให้นมบุตรใช้ได้ในปริมาณที่น้อยที่สุดหรือควรจำกัดการใช้ แม้ว่า FDA จะมีประกาศว่าใช้ได้อย่างปลอดภัยแล้วก็ตาม สำหรับสารให้ความหวานประเภท Cyclamate, Saccharin และผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบควรหลีกเลี่ยงจะดีที่สุด โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำตาลในเลือด

อย่างไรก็ตาม สารให้ความหวานแทนน้ำตาลเหล่านี้ยังต้องใช้และบริโภคอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เพราะยังแฝงอันตรายเอาไว้อยู่เหมือนกัน ถ้ากินในปริมาณที่เกินกว่าความเหมาะสม อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือมีสารตกค้างในร่างกายได้ รวมถึงการกินอาหารปกติในชีวิตประจำวันของเรานั้นก็ได้รับน้ำตาลในปริมาณที่ไม่น้อยอยู่แล้ว โดยเฉพาะจากอาหารประเภทแป้งหรือข้าวขัดสี ดังนั้น ต้องลดการกินหวานหรือควบคุมปริมาณน้ำตาลในแต่ละวันให้เหมาะสมจะดีกว่า


สารให้ความหวาน ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานได้หรือไม่

สารให้ความหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานเป็นกลุ่มคนที่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งในแต่ละวันการกินอาหารต่าง ๆ ก็ได้รับน้ำตาลและแป้งที่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดอยู่แล้ว ฉะนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลในการปรุงอาหารเพื่อลดและจำกัดปริมาณน้ำตาลที่จะได้รับในแต่ละวันแทน ซึ่งจะช่วยให้คุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูงได้

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานการรับประทานสารให้ความหวานสามารถรับประทานได้ แต่ในแต่ละคนอาจมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ทั้งโรคประจำตัวหรือโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ดังนั้น ก่อนเลือกรับประทานควรปรึกษาแพทย์เสียก่อนว่าสารให้ความหวานชนิดนั้นผู้ป่วยสามารถทานได้หรือไม่ ซึ่งรวมถึงความเสี่ยง ข้อควรระวัง และควรทานในปริมาณเท่าใดจึงจะเหมาะสมด้วย
(เข้าชมบทความ 10 อาหารลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน เพื่อปรับเปลี่ยนเมนูอาหารให้เหมาะสมกับสุขภาพ)

นอกจากนี้ สารให้ความหวานอาจไม่ได้ให้รสชาติเหมือนกับน้ำตาลเสมอไป สารบางชนิดเมื่อเจอกับความร้อนอาจทำให้รสชาติเปลี่ยนและไม่เป็นธรรมชาติ หรือบางอย่างก็ผสมสารให้ความหวานหลายชนิด จึงควรศึกษาข้อมูลและส่วนประกอบต่าง ๆ ให้ดีก่อนเลือกซื้อ เลือกปรุงและนำมารับประทาน รวมทั้งเลือกสารให้ความหวานที่เหมาะสมกับร่างกาย และในผู้ป่วยเบาหวานควรคำนึงถึงการได้รับน้ำตาลจากแหล่งอื่น ๆ ในมื้ออาหารด้วย

อย่างไรก็ตาม การบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลอาจดีกว่าการได้รับอาหารเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลปกติ แต่บางทีก็อาจส่งผลเสียต่อพฤติกรรมการรับประทานหรือกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอยากรับประทานบ่อยขึ้น ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์และความเสี่ยงอื่น ๆ ก่อนรับประเทาน ซึ่งทางที่ดีนอกจากจะคุมปริมาณแล้ว อย่าลืมหมั่นตรวจสุขภาพ เพื่อที่จะได้เช็กปริมาณน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในปริมาณปกติด้วยเช่นกัน


แนะนำ 5 สารให้ความหวาน ที่ปลอดภัย

การบริโภคน้ำตาลในปริมาณมากเกินไปย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ จากกระแสนิยมของผู้บริโภคจึงมีการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลกันมากขึ้น ทำให้มีการผลิตอาหารและเครื่องดื่มที่เอาใจคนรักสุขภาพมากขึ้น วันนี้เราจะมาแนะนำ 5 สารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลตัวเองเมื่อเป็นเบาหวาน และต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

1. หญ้าหวาน (Stevia)

สารให้ความหวาน

หญ้าหวานหรือมีอีกชื่อว่า Stevia เป็นสารให้ความหวานจากธรรมชาติและเป็นสารให้ความหวานที่ดีที่สุด ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 250-300 เท่า มีพลังงานเป็น 0 แคลอรี่ ทั้งยังไม่มีผลเสียต่อสุขภาพ สามารถลดความดันโลหิตและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ จึงเหมาะที่จะใช้ปรุงอาหารสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคหัวใจ หรือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนักและควบคุมแคลอรี่ แต่ควรระวังเรื่องปริมาณในการใช้ด้วย

2. ไซลิทอล (Xylitol)

สารให้ความหวาน

ไซลิทอลจัดเป็นสารให้ความหวานชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ มักพบอยู่ในส่วนประกอบของพวกผลิตภัณฑ์หมากฝรั่งลูกอม น้ำอัดลม กาแฟ หรือยาสีฟัน มีแคลอรี่น้อยกว่าน้ำตาลปกติประมาณ 40% และให้ความหวานได้ใกล้เคียงกับน้ำตาลประโยชน์ของไซลิทอล คือ ไม่เพิ่มแคลอรี่ในผู้ป่วยโรคอ้วน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดหรือลดอินซูลิน ช่วยป้องกันฟันผุได้ และช่วยปรับปรุงสุขภาพกระดูกให้ดีขึ้น แค่ควรใช้ไซลิทอลในปริมาณที่เหมาะสม เพราะอาจทำให้ท้องเสียได้หากบริโภคในปริมาณมาก ๆ

3. อิริทริทอล (Erythritol)

สารให้ความหวาน

อิริทริทอลเป็นสารให้ความหวานในกลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ จัดอยู่ในกลุ่มสารให้ความหวานที่ให้พลังงานแต่ก็มีพลังงานต่ำมาก ๆ คิดเป็นแคลอรี่เพียง 6% ของน้ำตาลปกติ สังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้ทดแทนน้ำตาลในอาหารและเครื่องดื่ม นิยมใช้กับการลดน้ำหนักแบบคีโตเจนิค และเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไม่ส่งผลที่เป็นอันตรายต่อร่างกายเหมือนอย่างน้ำตาลทั่วไป เนื่องจากอิริทริทอลจะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็กและขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะภายใน 24 ชั่วโมง จึงไม่เกิดกระบวนการเผาผลาญและเปลี่ยนเป็นพลังงานในร่างกาย

4. น้ำตาลหล่อฮั่งก๊วย (Monk Fruit Sweetener)

สารให้ความหวาน

หล่อฮั่งก๊วยเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งจากประเทศจีนที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมอย่างยาวนาน เมื่อสกัดออกมาจะได้เป็นน้ำตาลหล่อฮั่งก๊วยและเป็นสารให้ความหวานสกัดจากธรรมชาติที่ไม่ให้พลังงาน ทำให้ไม่เพิ่มระดับน้ำตาลและอินซูลิน ทั้งยังมีความหวานกว่าน้ำตาลทั่วไปประมาณ 100–250 เท่า มีสรรพคุณรักษาอาการอักเสบต่าง ๆ รวมทั้งช่วยดับพิษร้อนภายในร่างกาย สารประกอบที่อยู่ในหล่อฮั่งก๊วยมีส่วนสำคัญในการลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดและหัวใจ เรียกได้ว่าเป็นสารให้ความหวานอีกชนิดที่ทานแล้วปลอดภัยและมีประโยชน์

5. น้ำเชื่อมบัวหิมะ (Yacon Syrup)

สารให้ความหวาน

น้ำเชื่อมบัวหิมะได้สกัดจากผลบัวหิมะและได้เป็นสารให้ความหวานจากธรรมชาติ รวมทั้งอุดมไปด้วยแร่ธาตุและ โดยรวมมีรสชาติได้คล้ายกับน้ำตาลแต่มีแคลอรี่ต่ำ มีคุณสมบัติโดดเด่นที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี ทั้งขึ้นชื่อว่าดีกับสุขภาพหัวใจเพราะมีโพแทสเซียมสูง มีฤทธิ์ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยผ่อนคลายระบบหลอดเลือดและหัวใจ ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ป้องกันความเสี่ยงโรคหัวใจ โดยรวมแล้วถือว่ามีประโยชน์ทางโภชนาการค่อนข้างสูง ดังนั้นกินแล้วจึงดีต่อสุขภาพ

สารให้ความหวาน

อาหารทุกอย่างที่รับประทานไปก็มีน้ำตาลแฝงอยู่ด้วยเช่นกัน ในผู้ป่วยที่ต้องคุมน้ำตาลหรือหลายคนที่รักษาสุขภาพ การบริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลก็เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งเท่านั้น แม้ว่าสารให้ความหวานต่าง ๆ จะรับประทานได้อย่างปลอดภัยและดีต่อสุขภาพมากกว่าการบริโภคน้ำตาลปกติ แต่ก็ต้องดูแลร่างกายให้สุขภาพดีควบคู่กันไปด้วย โดยเฉพาะการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมอารมณ์เพื่อทำให้มีสุขภาพกายใจที่ดี และควบคุมอาหารไม่ให้ร่างกายรับน้ำตาลมากเกินไป


สารให้ความหวานบางชนิดก็มีประโยชน์ต่อร่างกายหากเลือกรับประทานให้ถูกต้อง ใครสนใจก็ลองหามาทานกันได้ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานถ้าจะให้ปลอดภัยและถูกวิธีแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานจะได้ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพราะการบริโภคน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไปเป็นหนึ่งของสาเหตุของปัญหาโรคเรื้อรังต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือด โรคมะเร็ง รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับสุขภาพอื่น ๆ อีกด้วย


อ้างอิงจาก 

https://www.pobpad.com/สารให้ความหวานแทนน้ำตา

https://www.scimath.org/article-chemistry/item/9838-2019-02-22-01-23-21

https://bestreview.asia/best-sugar-substitutes/

https://www.blog.geneusdna.com/post/sweeteners